mom2hero แนะนำคุณแม่คนเก่ง ในการเลี้ยงดูลูกว่า "นมแม่ ดีกว่านมวัว" มากมายหลายพันเท่า
"สำคัญตอนเริ่มต้น"
เมื่อถามบรรดาคุณแม่ที่บอกว่าไม่มีน้ำนมให้ลูก มักจะได้รับคำตอบว่า ไม่มีตั้งแต่ตอนอยู่โรงพยาบาล การที่แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยลง กับการที่คนนิยมคลอดลูกในโรงพยาบาลมากขึ้นนั้น มีความสัมพันธ์กัน เพราะพยาบาลในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลมักจะไม่ค่อยสนใจเร่งรัดให้แม่ พยายามที่สุดที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- คำแนะนำที่ดีที่สุดตอนนี้ก็คือ คุณต้องทำตัว ทำใจให้สบาย ไร้กังวล และไม่ต้องสนใจกับการที่ครอบครัวหรือเพื่อนบางคนไม่สนับสนุนคุณในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และไม่ควรไปตัดสิทธิอันชอบธรรมของลูกคุณด้วย
- ควรจะเริ่มให้ลูกหัดดูดได้ตั้งแต่วันที่สองหลังคลอด เมื่อคุณลุกขึ้นนั่งอุ้มลูกได้ ถึงแม้ว่ายังไม่รู้สึกคัดที่เต้านมก็ตาม เมื่อลูกเริ่มดูดก็เป็นการกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมได้เร็วขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรจะเริ่มตั้งแต่ยังอยู่ในโรงพยาบาลเลย สำหรับในกรณีที่คุณไม่อาจให้นมลูกได้ ขณะที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลนั้น ควรปั๊มนมออกเป็นระยะๆ อาจจะเป็นทุกๆ 3 ชั่วโมง เพื่อสร้างทางให้นมไหลไว้ และทำให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมติดต่อเหมือนกับถูกใช้โดยให้ลูกดูดนั่นเอง เมื่อออกจากโรงพยาบาล คุณก็จะได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ได้ทันที
- แต่วิธีนี้ก็มิใช่ว่าจะทำให้แม่ทุกคนมีนมพอเลี้ยงลูกหลังออกจากโรงพยาบาล เพราะมีบางคนที่มีน้ำนมน้อยตามธรรมชาติ แต่ทุกครั้งควรตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพยายามให้ถึงที่สุดเสียก่อน เมื่อไม่พอจริงๆ จึงค่อยให้นมผสม
- มีแม่คนหนึ่งที่คลอดลูกก่อนกำหนด ลูกต้องอยู่ในเครื่องอบที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งเดือน ในระหว่างนั้นแม่คนนี้นำนมแม่ที่ปั๊มออกไปให้ลูกที่โรงพยาบาลทุกวัน เวลาอยู่บ้านก็กำหนดเวลาปั๊มนมเป็นระยะๆ หลังจากนั้นหนึ่งเดือน เมื่อลูกกลับบ้านก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ทันทีและอย่างพอเพียง เด็กคนนี้แข็งแรงสมบูรณ์ที่เดียว คุณแม่คนนั้นได้รับผลตอบแทนความยากลำบากอย่างคุ้มค่า
- "สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน" เมื่อหมดระยะลาคลอด คุณแม่ก็จะฝากให้คนอื่นดูแลลูกเพราะว่าต้องไปทำงาน คุณแม่ประเภทนีบางคนอาจคิดว่า "ไหน ๆ ก็จะต้องเลี้ยงลูกด้วยนมวัวอยู่แลฃ้ว ก็หัดให้กินเสียแต่แรกเลยจะได้ชิน ไม่ต้องลำบากเปลี่ยนอีก" ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะในความเห็นกุมารแพทย์ เด็กควรได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน เพราะความสามารถของเด็กในการย่อยโปรตีนของนมวัวยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุครบได้ 3 เดือน (90 วัน) ดังนั้น คนส่วนมากจึงให้ความเห็นว่ากฎหมายควรจะกำหนดให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 3 เดือน
- ในกรณีที่แม่เป็นโรคไต และต้องควบคุมโปรตีนในอาหาร การให้นมลูกจะทำให้สูญเสียโปรตีนไป ฉะนั้นการเลี้่ยงลูกด้วยนมแม่คงทำไม่ได้ ในกรณีที่แม่เสียเลือดมาก และยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะหลังคลอดก็คงให้นมลูกไม่ได้เช่นกัน
- ถ้าแม่มีอาการตัวร้อนหลังคลอด โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ไม่มีอาการอื่นและแข็งแรงดี ในปัจจุบันมักทำการรักษาแม่ไปด้วยและให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปด้วย ในขณะเดียวกันเพราะอาการตัวร้อนที่เกิดจากแบคทีเรีย สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้ในระยะสั้น
- ในกรณีที่หัวนมแม่แตกหรืออักเสบ เฉพาะรายที่เป็นมาก จะให้พักนมข้างที่เป็นมากสักชั่วคราว เมื่อดีขึ้นค่อยกลับมาให้ใหม่ แม้แต่เด็กที่เกิดมาปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ ดูดนมแม่จะลำบาก ก็ควรพยายามเลี้ยงด้วยนมแม่ ในระยะแรกอาจลำบาก แต่เมื่อชินแล้ว เด็กก็จะดูดได้เก่งขึ้น
mom2hero ได้ให้ความสำคัญ "นมแม่ ดีกว่านมวัว" ในการเลี้ยงดูลูกนั้น คุณแม่คนเก่งต้องอย่าลืมให้ลูกดูดนมแม่ด้วยนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น